เทปและกาวอุตสาหกรรม 3M สำหรับการยึดติดและการประกอบ

กาวโครงสร้าง: คำถามที่พบบ่อย

วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญของเรารวมตัวกันเพื่อตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกาวโครงสร้าง 

รับชมหรืออ่านคำถามที่พบบ่อยของเราด้านล่าง

  • ทุกสถานการณ์แตกต่างกัน แต่ทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของเราได้รับการตั้งคำถามที่คล้ายกันนี้หลายครั้ง นี่คือข้อสงสัยที่พบบ่อยที่สุดที่วิศวกรได้ยินจากลูกค้า คำตอบดังกล่าวอาจไม่ตรงกับการใช้งานของคุณ อย่างไรก็ตาม คำตอบดังกล่าวอาจทำให้คุณเข้าใจถึง ปัจจัยที่หลากหลายที่ควรคำนึงถึงเมื่อคุณตรวจสอบการออกแบบ กระบวนการ และตัวเลือกกาวเพื่อดูวิธีการที่กาวโครงสร้าง 3เอ็ม สามารถช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้อย่างไร


    • Image from video of Shari Loushin discussing the different structural adhesive chemistries

    • คนส่วนใหญ่คิดว่าอีพอกซี่คือกาวโครงสร้างแบบสองส่วนชนิดใดก็ได้ (จนกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปสำหรับพวกเขา) แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นสารเคมีเฉพาะ เมื่อพูดถึงกาวโครงสร้างแบบสองส่วน จะสามารถแบ่งตามส่วนผสมทางเคมีได้สามชนิด – กาวอีพอกซี่ กาวอะคริลิก และกาวยูรีเทน – และกาวทั้งหมดมีลักษณะที่แตกต่างกัน

      อีพอกซี่เป็นสารเคมีที่เก่าแก่ที่สุดและในบางกรณีอาจมีประสิทธิภาพสูงที่สุด อีพอกซี่มีประสิทธิภาพต่อความล้าและสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดเมื่อทำการยึดติดโลหะ นอกจากโลหะแล้ว อีพอกซี่เหมาะสำหรับการยึดติดวัสดุคอมโพสิตที่เซ็ตตัวด้วยความร้อน เช่น CFRP (โพลีเมอร์เสริมความแข็งแกร่งด้วยคาร์บอนไฟเบอร์) อีพอกซี่ยังยึดติดกระจก เซรามิก และไม้ และยางและเทอร์โมพลาสติกบางชนิดอีกด้วย กุญแจสำคัญของกาวอีพอกซี่คือสามารถปล่อยให้แห้งในอุณหภูมิห้อง แต่คุณจำเป็นต้องเตรียมพื้นผิวให้ดี: คุณจะต้องทำความสะอาดพื้นผิวและคุณอาจต้องขจัดสิ่งสกปรกเพื่อให้เกิดการยึดติดที่แน่น กาวอีพอกซี่จะไม่แห้งเร็วเท่ากาวโครงสร้างชนิดที่สองหรือกาวอะคริลิกนั้นเอง

      กาวอะคริลิกเป็นกาวโครงสร้างในหมวดหมู่ใหม่ล่าสุด และสามารถให้คำนิยามว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยด้วยเหตุผลสามข้อ ข้อแรก สำหรับระยะเวลาแห้งตัวที่ระบุไว้กาวจะแห้งและติดแน่นอย่างรวดเร็ว ข้อสอง กาวจะทนต่อพื้นผิวที่มัน ซึ่งหมายความว่าการเตรียมพื้นผิวที่น้อยลงเนื่องจากคุณอาจไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดน้ำมันออกจากพื้นผิวเลย ข้อสาม กาวเหมาะสำหรับยึดติดเทอร์โมพลาสติก เพราะฉะนั้นคุณสามารถได้การยึดติดที่แน่นกับเทอร์โมพลาสติกได้ ด้วยอะคริลิกบางชนิด คุณสามารถยึดติดวัสดุประเภทโพลิโอเลฟิน LSE โดยไม่ต้องเตรียมพื้นผิวด้วยพลาสม่าหรือทาน้ำยาช่วยประสาน ข้อด้อยบางอย่าง: กาวอะคริลิกไม่มีประสิทธิภาพความทนทานต่อสภาพแวดล่อมหรือความล้าอย่างที่กาวอีพอกซี่มี และนอกจากนี้กาวอะคริลิกจะหดตัวมากกว่าหากเทียบกับกาวอีพอกซี่เมื่อแห้งตัว ซึ่งอาจเป็นปัญหากับการออกแบบข้อต่อบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อต่อที่มีข้อจำกัด เช่น ด้ามไม้กอล์ฟกับหัวไม้กอล์ฟ

      กาวโครงสร้างชนิดที่สามที่คุณพบเห็นได้บ่อยคือกาวยูรีเทนแบบสองส่วน กาวดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับยูรีเทนแบบหนึ่งส่วน มีความแตกต่าง คือ กาวสองส่วนต้องถูกผสมเพื่อให้เกิดการแห้งตัวด้วยสมบัติทางเคมี ไม่ได้แห้งตัวด้วยความชื้น เพราะฉะนั้นคุณไม่พบปัญหาการไม่แห้งเนื่องจากปริมาณมาก หรือการแห้งช้าที่คุณเจอในยาแนวยูรีเทนแบบหนึ่งส่วน กาวยูรีเทนแบบสองส่วนจะมีความยืดหยุ่นสูงที่สุดและมีลักษณะคล้ายกาวโครงสร้างแบบยางที่อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วที่ต่ำที่สุด  (Tg) หมายความว่าตัวกาวจะคงแรงยึดติดได้ดีที่อุณหภูมิต่ำแต่จะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการแรงยึดติดที่ดีที่อุณหภูมิสูง กาวจะติดไม่ค่อยดีบนพื้นผิวที่ไม่มีการเตรียมผิวหรือพื้นผิวโลหะที่มีการเตรียมผิวแล้วในบางครั้ง กาวยูรีเทนแบบสองส่วนส่วนใหญ่จะใช้กับวัสดุ เช่น พลาสติก ไม้ ผ้า และยาง

      อย่างที่คุณเห็น สารเคมีหลักทั้งสามมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเข้าใจความต้องการด้านการใช้งานของคุณจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้เลือกกาวให้ถูกประเภท ที่ 3เอ็ม เราเข้าใจและจำหน่ายกาวโครงสร้างประเภทดังกล่าวและเราจะพูดคุยเกี่ยวกับเงื่อนไขของการใช้งานจริงเสมอ ถ้ากาวไม่ติดทนทาน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะใช้ เราจะทำงานร่วมกับคุณเพื่อคิดหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานจริงของคุณ จากนั้นดูการผลิตและกำหนดกาวที่คุณควรลองเพื่อทดสอบความถูกต้อง

      เอกสารข้อมูลทางเทคนิค

    • Tensile
      แรงดึง

      ความเค้นแรงดึงคือ แรงดึงที่ตั้งฉากกับพื้นที่ภาคตัดขวางและดึงแยกวัสดุให้ขาดออกจากการยึดติดของกาว แรงจะถูกกระจายออกไปทั่วบริเวณพื้นที่ของการยึดติดอย่างเท่า ๆ กัน (ความเค้นแบบแรงกดจะอยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม โดยที่วัสดุจะดันเข้าหากันในแนวตั้งฉากของส่วนที่ยึดติด)

    • Shear
      แรงเฉือน

      แรงเค้นเฉือนคือ การดึงในแนวนอนด้านบนกาว ส่งผลให้วัสดุเลื่อนผ่านวัสดุอีกชิ้น จุดนี้แรงจะอยู่ในระนาบเดียวกันกับจุดยึดติดและกระจายออกไปทั่วบริเวณพื้นที่

    • Cleavage
      แรงฉีก

      แรงเค้นแบบฉีกจะอยู่ที่ขอบด้านหนึ่งของข้อต่อทำให้เกิดแรงงัดบริเวณที่ยึดติดในขณะที่วัสดุแยกตัวออกจากกัน ขณะที่ด้านหนึ่งของรอยต่อกาวมีความเค้นสูง ด้านอื่นของรอยต่อจะไม่มีความเค้นเลย การฉีก (Cleavage) จะเกิดขึ้นระหว่างวัสดุแข็งสองชิ้น

    • Peel
      แรงลอก

      แรงลอกจะพุ่งไปที่ขอบด้านเดียวของจุดยึดติด หากวัสดุหนึ่งในนั้นมีความยืดหยุ่น จะมีผลทำให้เกิดแรงเค้นแบบฉีกที่ขอบที่ยื่นมากขึ้น

    • Video of Application Engineer explaining temperature impact the cure profile of adhesives

    • ซึ่งคำถามที่พบบ่อย และมีความสำคัญมาก – เช่น โรงงานแบบเปิดโล่งในจอร์เจียอาจต้องเจอความแตกต่างตามฤดูกาลตั้งแต่ 40°F จนถึง 104°F กาวโครงสร้างต้องอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีและปฏิกิริยาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกอุณหภูมิที่เย็นขึ้นจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลงและอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น

      สมการอาร์เรเนียสเป็นสูตรสำหรับปฏิกิริยาที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ สำหรับแนวทางปฏิบัติทั่วไป ความแตกต่างทุก ๆ 10 องศาเซลเซียส คุณจะต้องเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นหนึ่งเท่าหรือลดลงครึ่งหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น กาวที่มีระยะเวลาแห้งตัว 20 นาทีที่อุณหภูมิ 25°C หรืออุณหภูมิห้อง ถ้าคุณเปลี่ยนอุณหภูมิห้องเป็น 35°C คุณจะลดเวลาการแห้งตัวลงครึ่งหนึ่ง เป็น 10 นาที ในทางตรงกันข้าม หากคุณลดอุณหภูมิลงเหลือ 15°C คุณจะมีระยะเวลาแห้งตัวนานถึง 40 นาที

      ไม่ใช่แค่ระยะเวลาแห้ง – การทำปฏิกิริยาทั้งหมดจะเป็นเหมือนกัน หากที่อุณหภูมิห้องกาวใช้เวลาสองชั่วโมงในติดแน่น ที่อุณหภูมิเย็นลง 10°C กาวจะใช้เวลาสี่ชั่วโมง สิ่งนี้ไม่เพียงสำคัญกับการทำงานในที่เปิดโล่งและการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล: ซึ่งสามารถมีผลกระทบกับการผลิตได้ หากคุณต้องการเพิ่มปริมาณงานโดยไม่ลดระยะแห้งตัวคุณสามารถประกอบชิ้นส่วนที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นให้ย้ายไปที่ที่อุ่นกว่า 10 ถึง 20 องศาเพื่อเพิ่มความเร็วในการแห้งตัว อันที่จริง ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50°C ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม ดังนั้นหากคุณดูในประกาศทางเทคนิคด้านการเพิ่มความเร็วการทำปฏิกิริยาของกาวที่แห้งด้วยความร้อน เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 50°C คุณสามารถทำให้กาวซึ่งใช้เวลาเป็นวันเพื่อให้แห้งสนิทที่อุณหภูมิห้องแห้งได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

    • Video of Application Engineer explaining temperature resistanceof adhesive for a bonded assemby

    • นี่เป็นคำถามที่เราพบบ่อยจากลูกค้าที่ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากความไม่แน่นอน หากไม่มีตัวเลขใดเป็นข้อมูลได้ คุณควรคำนึงถึงสิ่งใดที่ต้องสัมพันธ์กับอุณหภูมิ

      การแห้งตัวของกาวเป็นอย่างไร
      หากกาวแห้งติดแน่นแล้วหรือยังไม่แห้งดี อุณหภูมิจะมีผลทำให้เกิดความแตกต่างของการแห้งสนิทภายในสามอาทิตย์หรือหกเดือนหลังการประกอบหรือไม่

      อุณหภูมิสูงสุดที่สามารถใช้ชิ้นงานได้คือเท่าไหร่
      อุณหภูมิสูงที่สุดและต่ำที่สุดคือเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้เข้าใจว่าจะมีปัญหาการเสื่อมสภาพจากความร้อนเนื่องจากตัวกาวสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงสุดขีด

      ระยะเวลาการประกอบจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิสุดขีดดังกล่าว และทุกช่วงระหว่างนั้นเป็นเวลานานเท่าใด
      หากมีบางชิ้นงานอยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 150°C จะให้ผลที่แตกต่างระหว่างการที่อุณหภูมิสูงเพียงห้านาทีหรือห้าอาทิตย์ ดังนั้นคุณจะต้องคิดถึงความสัมพันธ์อุณหภูมิสูงโดยรวมและผลกระทบการเสื่อมสภาพโดยอ้างอิงจากเรื่องดังกล่าว ความถี่มีความเกี่ยวข้องด้วย: ชิ้นส่วนจะต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสุดขีดดังกล่าวบ่อยแค่ไหน การใช้งานกลางแจ้งในทะเลทรายที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงระหว่าง 40°F ในช่วงกลางคืนและ 115°F ในช่วงกลางวันทุก 24 ชั่วโมง จะแตกต่างจากการที่ชิ้นงานสัมผัสกับอุณหภูมิสุดขีดแบบต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งเดือนต่อครั้งในรอบปี

      แรงที่กดลงบนกาวขณะที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิดังกล่าวควรมีน้ำหนักเท่าใด
      คำถามข้อสุดท้ายนี้อาจมีความสำคัญที่สุด ถึงแม้ว่ากาวจะไม่เจอการเสื่อมสภาพจากความร้อน กาวก็เป็นโพลีเมอร์และจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอุณหภูมิเพิ่มสูงเกินจุดจุดหนึ่ง (อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว) กาวจะเปลี่ยนจากสถานะคล้ายแก้วที่แข็งไปเป็นสถานะคล้ายยางที่นิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกาวจะเปลี่ยนไปเมื่อกาวร้อนขึ้นหรือเย็นลงผ่านการเปลี่ยนแปลงสถานะ รวมไปถึงความแข็ง ค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวจากความร้อนและการทนความร้อน จากทั้งหมดนั้น ซึ่งอาจมีผลกระทบกับความสามารถในการรับน้ำหนักของกาวได้

    • Video of Application Engineer explaining how to prepare a substrate.

    • คำตอบเรื่องวิธีการเตรียมวัสดุใด ๆ สำหรับการใช้กาวจะไม่ตรงกับประเด็นหากไม่ทราบข้อมูลเพิ่มเติม วัสดุและชนิดกาวเป็นคำถามที่ซับซ้อนที่สุดเนื่องจากทั้งหมดขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการ: ข้อกำหนดประสิทธิภาพของกาวโดยรวมจะเลือกโดยอ้างอิงจากอุณหภูมิ สภาพแวดล้อม แรงยึดติดโดยรวมที่ต้องการ และข้อกำหนดด้านกระบวนการ เช่น ต้องการให้กาวแห้งเร็วขนาดไหน โดยวิธีการเตรียมผิวของวัสดุจะขึ้นอยู่กับชนิดของกาวที่คุณเลือก ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็จะมีเกรดคุณภาพที่แตกต่างกัน: ไม่ใช่ ABS ทั้งหมดจะเรียกว่า ABS เพราะฉะนั้นการจะกำหนดวิธีการเตรียมพื้นผิวในทุกกรณีได้นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย

      จากที่ได้กล่าวไปนั้น มีการจัดหมวดหมู่แบบกว้าง ๆ ของวัสดุ และในการจัดหมวดหมู่นี้เองก็มีการใช้สารเคมีสำหรับแต่ละหมวดหมู่

      โลหะมีพลังงานพื้นผิวสูง ซึ่งกาวจะทำงานได้ดีเมื่อพื้นผิวสะอาดและแห้ง  แต่โลหะแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ลองเอาอะลูมิเนียมมาเทียบกับทองแดงกัน อลูมิเนียมเป็นโลหะที่ไม่ทำปฏิกิริยา (เชื่องช้า) และค่อนข้างเฉื่อย เมื่อเทียบกับทองแดงเป็นโลหะกัมมันต์จะกัดกร่อน ดังนั้นการคิดเตรียมพื้นผิว คุณจำเป็นต้องคำนึงว่ามีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลาจากการกัดกร่อนหรือไม่

      วัสดุทั่วไป เช่น กระจก ไม้ เครื่องหนัง และคอนกรีต วัสดุเหล่านี้มีพลังงานพื้นผิวระดับกลาง แต่วัสดุแต่ละชิ้นมีปัจจัยที่ไม่เหมือนใครที่ต้องคำนึงถึง ความขรุขระเป็นหนึ่งในตัวอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่งคือหนังธรรมชาติจะมีน้ำมันจากกระบวนการฟอกหนัง – น้ำมันดังกล่าวจะซึมเข้าสู่เนื้อกาวอย่างช้า ๆ ทำให้ความแข็งลดลงและทำให้การยึดติดเสื่อมสภาพ การเกิดไฮโดรไลซิสบนกระจกหมายความว่าเกิดการแทรกซึมของความชื้น จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเมื่อคุณต้องทำการยึดติดกระจกโดยที่ต้องทำให้แน่ใจว่ากาวจะไม่เสื่อมสภาพ

      พลาสติกวิศวกรรมเป็นพลาสติกที่มีประสิทธิภาพพลังงานพื้นผิวสูงกว่า เช่น อะคริลิก โพลิคาร์บอเนต ABS และวัสดุคอมโพสิตเรซิน-อีพอกซี่ วัสดุดังกล่าวนั้นพิเศษเนื่องจากการยึดติดจะไม่ใช่เรื่องพลังงานพื้นผิวอีกต่อไป – กาวจะซึมเข้าสู่พื้นผิวได้ทั่ว แต่ความสามารถในการยึดติดจะขึ้นอยู่กับตกผลึกและขั้วของพลาสติก วัสดุ เช่น ไนลอนมีพลังงานพื้นผิวที่ค่อนข้างสูง แต่วัสดุสามารถตกผลึกได้ง่ายและไม่มีขั้ว เมื่อคุณมาดูกลไกการยึดติด กาวหลายประเภทอาจยึดติดในตอนแรก แต่หลังจากนั้นกาวจะหลุดออก นอกจากว่าคุณทำการเตรียมพื้นผิวให้ดียิ่งขึ้น

      พลาสติกที่มีพลังงานพื้นผิวต่ำ (พลาสติก LSE) เป็นพลาสติกที่มีใช้งานบ่อย เช่น โพลีโพรพีลีนและโพลีเอทิลีน และวัสดุบางอย่างที่มีพลังงานพื้นผิวต่ำมาก เช่น พลาสติกฟลูออรีนและซิลิโคน โพลิโอเลฟินและพลาสติก LSE ถือเป็นหมวดหมู่เดียวกันเนื่องจากคุณจะต้องใช้น้ำยาช่วยประสานหรือการเตรียมพื้นผิวด้วยกระแสไฟฟ้า หรือใช้กาวชนิดพิเศษที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อซึมเข้าสู่เนื้อพลาสติกและสร้างการผนึกยึดกับโพลีเมอร์ของตัววัสดุ

      ตัวแปรเหล่านี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงสาเหตุว่าทำไมถึงไม่มีคำตอบตายตัว และคุณจะต้องทำการทดสอบตัวต้นแบบเพื่อให้แน่ใจว่ากาวทำงานในกระบวนการของคุณได้ ที่แรกที่ควรเข้าไปดูข้อมูลวัสดุคือ หน้าเว็บเพจการยึดติดและการประกอบและหน้าเว็บเพจการยึดติดวัสดุที่ 3M.com ซึ่งจะมีข้อมูลเบื้องหลังเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวที่ครอบคลุม

      คำแนะนำที่สองคือการตรวจสอบเว็บเพจข้อมูลทางเทคนิคของกาวที่คุณกำลังมองหาอยู่เนื่องจากเว็บเพจจะแสดงการยึดติดกับวัสดุที่หลากหลาย โดยทั่วไปแล้ว เว็บเพจเหล่านั้นจะแสดงข้อมูลอยู่สองอย่าง: ตัวเลขแสดงความแน่นหนาภายใต้แรงเค้นทั้งในหน่วยปอนด์ต่อตางรางนิ้ว / psi หรือเมกะปาสคาล / MPa (สำหรับแรงเฉือนทับซ้อน) หรือปอนด์ต่อนิ้ว (สำหรับแรงลอก) และเมื่อเกิดการล้มเหลว การเกิดการล้มเหลวของการแยกตัวภายในเนื้อกาว (Cohesive) หมายถึงกาวที่ถูกทดสอบยังคงติดอยู่กับวัสดุทั้งสองฝั่งหลังจากที่ถูกดึงออกจากกัน
       ตัวกาวเองที่ล้มเหลวมากกว่าที่จะเป็นการยึดติด การล้มเหลวของกาวแสดงให้เห็นว่ามีการดึงกาวออกจากวัสดุหนึ่งในนั้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถให้คำแนะนำคร่าว ๆ ว่ากาวเหมาะสมและควรอยู่ในกลุ่มที่คุณควรพิจารณาหรือไม่

      ตัวเลือกที่สาม หากคุณมีวัสดุอยู่ในใจแล้วหรือคำถามเกี่ยวกับสารเติมแต่งที่อาจซึมเข้าสู่กาว เพียงแค่ติดต่อทาง 3เอ็ม ทีมงานด้านเทคนิคของเราจะดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้างและดำเนินบริการคำขอทางเทคนิคเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจว่ากาวชนิดใดจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าตลอดอายุการใช้งาน

    • Still shot from video demonstration of loading a 3M™ EPX Applicator

    • รับชมวิดีโอด้านบนสำหรับการสาธิตการประกอบและการใช้งานอุปกรณ์ปืนยิงกาว 3M™ EPX หรือใช้ลิงก์ประกาศทางเทคนิคด้านล่างสำหรับขั้นตอนในรูปแบบข้อความ

    • Image from video explaining what users can expect to find on Tech Data Sheets

    • ทุกๆ คนชอบที่จะดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลทางเทคนิคจากเว็บไซต์ สังเกตได้จากจำนวนการดาวน์โหลดและหวังว่าเอกสารจะช่วยอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่คงไม่เป็นแบบนั้น เอกสารข้อมูลทางเทคนิคจะเหมาะสำหรับใช้เปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์ แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้รับประกันว่าการใช้งานของคุณจะได้ประสิทธิภาพตามนั้น

      เพื่อที่จะเปรียบเทียบกาวของ 3เอ็ม ให้ทำการทดสอบมาตรฐาน สิ่งที่คุณจะพบเห็นบนเอกสารข้อมูลทางเทคนิคได้บ่อยที่สุดคือแรงเฉือนแบบทับซ้อน ASTM D-1002 นี่เป็นการทดสอบมาตรฐานที่สามารถทำได้กับวัสดุที่หลากหลาย การทดสอบช่วยให้เราเห็นว่าผลิตภัณฑ์ติดกับพื้นผิวของวัสดุได้ดีเพียงใด ควรมีการเตรียมพื้นผิวอย่างไร และอุณหภูมิที่แตกต่างกันจะมีผลกระทบกับการยึดติดได้อย่างไร การทดสอบแรงลอกเป็นชุดตัวเลขอีกอันที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลประเภทแรงเค้นต่างๆ

      สิ่งต่อไปที่คุณจะเห็นบนเอกสารข้อมูลคือ ลักษณะโดยธรรมชาติของตัวผลิตภัณฑ์เอง รวมไปถึงเรื่องบางอย่าง เช่น ระยะที่กาวเริ่มแห้งตัว เวลาทั้งหมดในการแห้งตัว ลักษณะความหนืด มอดุลัสและการยืดหยุ่น ลักษณะเหล่านี้ช่วยทำให้ตัวเลือกของคุณแคบลงและตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ควรทดลองและดูว่าผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไรในการใช้งานของคุณ และอีกครั้ง สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติพื้นฐานของตัวกาวเอง ดังนั้นคุณสามารถเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น ระดับการเตรียมพื้นผิวที่แตกต่างกันกับชนิดของกาว ซึ่งจะไม่รับประกันประสิทธิภาพในการออกแบบของคุณ ดังนั้นสิ่งต่อไปที่คุณต้องทำคือทำการทดสอบความถูกต้อง   

      นอกเหนือจากเอกสารข้อมูลแล้ว 3เอ็ม จะทำการทดสอบเฉพาะให้คุณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากคุณมีพลาสติกหรือสีที่ไม่เหมือนใครและต้องการทราบว่ากาวชนิดใดใช้งานได้ดีที่สุด ต้องทำการเตรียมพื้นผิวอย่างไร หรือจำเป็นต้องมีระยะเวลาแห้งตัวนานขนาดไหน เราสามารถช่วยคุณหาคำตอบได้ เราจะทำการทดสอบมาตรฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ตัวเลือกกาวสำหรับการทดสอบความถูกต้องของคุณให้แคบลง

    • Image from video of Shari Loushin discussing viscosity in relation to structural adhesives

    • ความหนืดเป็นตัวเลขที่คุณจะเห็นบนเอกสารข้อมูล แต่ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้แสดงลักษณะของกาว – ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไม่ข้อมูลจึงทำให้สับสน กาวดังกล่าวมีพฤติกรรมแบบนอนนิวโตเนียน ซึ่งหมายความว่าความหนืดหรือการไหลของกาวขึ้นอยู่กับแรงเค้นเฉือนที่คุณกระทำกับกาว ให้ลองนึกถึงวิปปิ้งครีม: คุณยังสามารถคนกาวได้ง่าย แต่เมื่อคุณทาลงบนพายวิปปิ้งครีมจะกองสูงขึ้น นี่คือตัวอย่างของพฤติกรรมแบบนอนนิวโตเนียน และนี่คือพฤติกรรมของกาวแบบสองส่วนทั้งหมด

      คุณไม่สามารถดูตัวเลขความหนืดในเอกสารข้อมูลและทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมกาวจึงมีการจำแนกลักษณะโดยใช้คำศัพท์ เช่น ไม่ไหลเยิ้ม หรือปรับระดับได้เอง กาวที่ไม่ไหลเยิ้ม (Non-sag) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของกาวซึ่งเกี่ยวข้องกับแรงเค้นประเภทแรงดึงดูด จะไม่ย่น หยด หรือไหล – กาวจะอยู่บริเวณที่ฉีดหรือทาเหมือนกองวิปปิ้งครีม ในทางตรงกันข้าม ผลิตภัณฑ์ที่ปรับระดับได้เองจะให้พื้นผิวที่ราบเรียบเสมอกัน สวยงาม ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับการใช้งานเช่นการอุดช่องว่างขนาดเล็ก

      ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อใช้งานในปริมาณมาก และคุณต้องทำความเข้าใจว่ากาวทั้งสองประเภทมีพฤติกรรมอย่างไร โดยทั่วไปแล้วคุณจะต้องมีเส้นโค้งการไหลเพื่อเทียบพฤติกรรมความหนืดกับอัตราแรงเฉือน อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ยกตัวอย่างความคล้ายคลึงกับอาหารคือให้นึกถึงน้ำผึ้ง: น้ำผึ้งมีความข้นเมื่อเย็น แต่หากคุณนำน้ำผึ้งเข้าไมโครเวฟ น้ำผึ้งจะข้นน้อยลง ซึ่งกาวมีลักษณะคล้ายกัน: คุณอาจเคยชินกับพฤติกรรมการใช้กาวของคุณในฤดูหนาว แต่เมื่อฤดูเปลี่ยนและโรงงานผลิตของคุณร้อนขึ้น 20 องศา นั้นทำให้กาวอาจไหลมากขึ้นกว่าที่คุณคาดการณ์ไว้

      ปัจจัยข้อที่สามที่มีผลกระทบกับความหนืดหรือการไหลของกาวคือปฏิกิริยา ในกาวแบบสองส่วน เมื่อส่วนผสมทั้งสองมาเจอกันในหัวฉีดผสม ส่วนผสมจะเริ่มทำปฏิกิริยา ระหว่างที่ส่วนผสมทำปฏิกิริยากลายเป็นเจล ส่วนผสมจะผสานกันและมีความหนืดมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องใช้แรงมากขึ้นเพื่อทำให้กาวไหลออกจากหัวฉีดผสม ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้กาวแห้งไวเพื่อฉีดเพียงปริมาณน้อยต่อครั้ง

      ความเป็นไปได้ดังกล่าวทั้งหมดนั้นจะเป็นปัจจัยเมื่อคุณกำหนดว่ากาวชนิดใดที่ใช้ในการทำงานได้ที่สุดและวิธีการที่คุณจะใช้งานวัสดุเอง

      เพื่อเป็นการสรุป มีสามสิ่งที่คุณควรเปรียบเทียบคือ ความหนืดเทียบกับอัตราแรงเฉือน ว่าค่าดังกล่าวตรงกับการใช้งานของคุณหรือไม่ คุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิเท่าใด และอัตราการแห้งตัวเทียบกับปริมาณที่ใช้งานต่อส่วนเพื่อให้แน่ใจว่ากาวจะไม่แห้งเร็วเกินไปจนอุดตันหัวฉีดผสม


ติดต่อเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกาวโครงสร้าง

เราพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ

ต้องการความช่วยเหลือค้นหากาวโครงสร้างที่เหมาะกับโครงการของคุณหรือไม่ ติดต่อเราหากคุณต้องการคำแนะนำผลิตภัณฑ์ เชิงเทคนิค หรือการใช้งาน หรือต้องการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของ 3เอ็ม