การดูแลสุขภาพ
  • share

    COVID-19 กับเทรนด์การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า

    share

    ผู้หญิงกำลังเข้าพบแพทย์แบบเสมือนจริง
    • ในสหรัฐอเมริกา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้พบว่าการแพทย์แบบจ่ายตามการรักษา (Fee-for-service หรือ FFS) ส่งผลให้ผู้ป่วยและผู้ให้บริการต่างมีความเสี่ยงสูงทั้งในด้านการแพทย์และการเงินเมื่อระบบการดูแลสุขภาพให้การดูแลรักษาและคิดเงินตามปริมาณการให้บริการรักษา. โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบว่า:

      • ผู้ใหญ่ 14 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าตนเองหลีกเลี่ยงเข้ารับการรักษาแม้ว่าจะมีอาการของ COVID-19 เพราะว่าค่าใช้จ่าย จากข้อมูลการสำรวจโดย Gallup
      • ผู้ใหญ่ 27 เปอร์เซ็นต์ที่สำรวจโดย TransUnion Healthcare กล่าวว่าตนเองเลือกที่จะชะลอหรือยกเลิกการดูแลรักษาแบบไม่เร่งด่วนเพราะ COVID-19 และเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าจะไม่นัดหมายใหม่จนกว่าจะเชื่อว่าโรงพยาบาลปลอดภัยจากไวรัส
      • โรงพยาบาลทั้งหมดสูญเสียรายได้รวม 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทุกวันจากปริมาณผู้ป่วยที่ลดลงเนื่องจาก COVID-19 ตามข้อมูลจาก Crowe บริษัทบัญชีและที่ปรึกษา

      ผู้เชี่ยวชาญด้านการเบิกค่ารักษาทางการแพทย์สองท่านมาร่วมอภิปรายว่าเหตุใดตัวเลขที่น่าตกใจเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการแพทย์แบบ FFS ไปเป็นการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าและรูปแบบการเบิกค่าใช้จ่ายแบบเน้นคุณค่า ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกือบจะหยุดชะงักลงในช่วงก่อนการระบาด

      การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าได้เริ่มเติบโตช้าลง

      Dr. Ronald Silverman, Chief Medical Officer ประจำ Medical Solutions Division ของ 3เอ็ม กล่าวว่า “ทุกครั้งที่มีแนวคิดใหม่ๆ อย่าง [การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า] ก็จะมีข่าวครึกโครมและการคาดการณ์ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อยู่ทุกครั้ง. แต่เมื่อหลังจากได้ลองและพบกับความเป็นจริงแล้ว ผู้คนก็จะตระหนักได้ว่าการดูแลสุขภาพนั้นมีความซับซ้อนมากเพียงใด และการเปลี่ยนแปลงนั้นทำได้ยากจริงๆ”.

      คุณ Silverman กล่าวว่าอุปสรรคต่อการใช้การรักษาสุขภาพโดยเน้นคุณค่านั้นรวมถึงการปรับสิ่งจูงใจทางการเงินให้สอดคล้องกันในหลายภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนรูปแบบการรักษาที่ฝังรากลึก การเรียนรู้วิธีการใช้ระบบบันทึกข้อมูลสุขภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Record หรือ EHR) อย่างมีประสิทธิภาพ และการรวบรวมและรายงานมาตรการด้านคุณภาพต่างๆ

      อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดคือข้อมูล. ไม่ใช่เพราะว่าขาดข้อมูล แต่เป็นข้อมูลจำนวนมหาศาล. Cherilyn Murer, J.D., ประธานและ CEO แห่ง CGM Advisory Group อธิบายว่าโรงพยาบาล ระบบสาธารณสุข และสถานพยาบาลต่างมีข้อมูลท่วมหัวและประสบความลำบากในการแปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย.

      ใน[1]รายงานความคืบหน้า (PDF, 404 KB)[2]ประจำปีฉบับล่าสุดเรื่องการหันมาใช้การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า เครือข่าย Health Care Payment Learning and Action Network กล่าวว่าการจ่ายเงินให้กับ Medicare, Medicaid และแผนการดูแลสุขภาพทางการพาณิชย์ที่ส่งให้กับผู้ให้บริการด้วยรูปแบบการชำระเงินทางเลือก หรือ APM นั้นเพิ่มขึ้นเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เป็น 36 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 จาก 34 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 ซึ่งลดลงจากการเพิ่มขึ้น 5 และ 6 เปอร์เซ็นต์ในสองปีก่อน

      การใช้ห่วงโซ่อุปทานเพื่อหาคุณค่าเพิ่มเติม

      จากคำบอกเล่าของทั้งคุณ Silverman และคุณ Murer หากช่วงการระบาดของ COVID-19 มีข้อดีสักอย่าง ก็คงจะเป็นการกระตุ้นการทำงานที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากขึ้น

      เรื่องหนึ่งและดูเหมือนจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด คือความจำเป็นในการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในทันที. ขณะมีรายได้ลดลง วิธีเดียวที่จะดำเนินงานต่อไปได้โดยมีอัตรากำไรเล็กน้อยคือการลดต้นทุน. สิ่งนี้จะทำให้โรงพยาบาล ระบบสาธารณสุข และสถานพยาบาลกลับมาพิจารณาห่วงโซ่อุปทานของตนอีกครั้ง คุณ Silverman กล่าว.

      คุณ Silverman ยังคาดว่าผู้ให้บริการมากขึ้นจะหันไปใช้ห่วงโซ่อุปทานที่บูรณาการกับการแพทย์ และใช้คณะทำงานวิเคราะห์คุณค่าเพื่อทำการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ตามต้นทุนและผลลัพธ์

      คุณ Silverman อธิบายว่า “หากคุณซื้อผลิตภัณฑ์ ก. ซึ่งมีราคาสูงกว่าเล็กน้อยแต่สามารถป้องกันการติดเชื้อและลดอัตราการเข้ารักษาซ้ำได้อย่างมาก ค่าใช้จ่ายในระยะยาวก็จะต่ำกว่า และสถานพยาบาลของคุณก็จะดำเนินงานได้ดีภายใต้การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า. ผลการรักษาที่ดีขึ้นและค่าใช้จ่ายการรักษารวมลดลงคือนิยามของคำว่าคุณค่า”.

      คุณค่าของการตรวจสอบจากระยะไกลและการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์

      COVID-19 ได้ผลักดันการเคลื่อนไหวที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วเพื่อเปิดตัวและปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาโดยใช้รูปแบบเสมือนจริงมากขึ้น. อีกทั้งยังได้พิสูจน์ประโยชน์ของการตรวจสอบจากระยะไกล. ผู้ให้บริการต่างตรวจสอบสุขภาพและพฤติกรรมของผู้ป่วยผ่านทางแอปและอุปกรณ์ไร้สายกันมากขึ้น แทนที่จะให้ผู้ป่วยเข้ามาพบ. การดูแลรักษาแบบเสมือนจริงนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและสะดวกมากกว่าแล้ว ยังสามารถเตือนให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพหรือพฤติกรรมได้ในแบบเรียลไทม์. ผู้ให้บริการสามารถรับมือกับปัญหาได้ในทันทีแทนที่จะรอให้การเปลี่ยนแปลงขยายผลจนต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือเข้าห้องฉุกเฉิน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง.

      ในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดก็ทำให้การโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ก็กลายเป็นเรื่องปกติในช่วงข้ามคืน. โดย[1]รายงานฉบับใหม่[2]จากบริษัทวิจัยตลาด Frost & Sullivan พบว่าความต้องการบริการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มสูงขึ้น 64.3% ในปีนี้ ส่วนใหญ่เพราะว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19.

      โดยเทียบกันแล้ว ผู้ป่วยที่ใช้การโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์เพิ่มขึ้น 12% จากปี 2017 ไปปี 2018 ตามข้อมูลจาก[1]รายงานอีกฉบับ[2] จาก FAIR Health บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการเอาประกัน

      ปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการเติบโตอย่างรวดเร็วของการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์นอกเหนือจาก COVID-19 ว่าเป็นวิธีการเชื่อมโยงผู้ป่วยกับผู้ให้บริการที่ตามปกติ ได้แก่

      • ผู้ป่วยมีความต้องการสูงขึ้นสำหรับการดูแลในทันที สะดวก และไม่แพง
      • ความจำเป็นในการขยายธุรกิจของผู้ให้บริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยทั้งสามประการเหล่านั้น
      • การเติบโตของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning ที่ผลักดันความสามารถของการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์
      • การขจัดอุปสรรคเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตและกฎข้อบังคับที่จำกัดความแพร่หลายของการให้บริการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์โดยผู้ให้บริการในทุกพื้นที่

      ผู้ให้บริการที่พัฒนาความสามารถในการให้บริการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ในระหว่างช่วงการแพร่ระบาดต่างเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการใช้การโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นตามปกติของรูปแบบการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าต่อไปในอนาคต. การคัดแยกผู้ป่วยจากระยะไกลนั้นถูกกว่าการเข้าพบในสถานพยาบาล และหากการดูแลแบบเสมือนจริงสามารถแก้ปัญหาทางการแพทย์ได้ก่อนที่จะลุกลาม ทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการก็ได้จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยลง.

      COVID-19 ชี้ให้เห็นถึงขอบเขตของการดูแลสุขภาพแบบคุณค่าต่ำ

      คุณ Murer ชี้ให้เห็นถึงบทเรียนอีกอย่างหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สำหรับทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ซึ่งก็คือ: การดูแลรักษาทางการแพทย์และการตรวจวินิจฉัยไม่ได้มีความจำเป็นหรือเหมาะสมทั้งหมด. เรื่องที่เราไม่ได้ทำกันส่วนใหญ่ในตอนนี้คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า "การดูแลสุขภาพแบบคุณค่าต่ำ" หรือการดูแลรักษาที่แทบไม่มีหรือไม่มีคุณค่าทางการรักษาต่อผู้ป่วยเลย และอันที่จริงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยด้วยซ้ำ.

      รูปแบบการจ่ายเงินแบบ FFS จะผลักดันให้เกิดการดูแลสุขภาพแบบคุณค่าต่ำ. เมื่อการดูแลสุขภาพแบบคุณค่าต่ำหายไปอย่างในช่วงเกิดการระบาด รายได้แบบ FFS ก็จะหายไปอย่างที่หายไปในช่วงเกิดการระบาด. รูปแบบที่ดีกว่าสำหรับทั้งผู้ให้บริการและผู้ป่วยทั้งในช่วงเวลาปกติและแย่คือการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ซึ่งเป็นการให้รางวัลแก่ผู้ให้บริการสำหรับการทำสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย.

      ด้วยเหตุนี้และเหตุผลอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งคุณ Silverman และ คุณ Murer ต่างคาดว่าผู้ให้บริการจะผลักดันให้มีการใช้การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่ากันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งอุตสาหกรรมหลังจากภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขจาก COVID-19 จบลงแล้ว