ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงการอนุรักษ์การได้ยินของคุณกำลังดำเนินการกับการประเมินโครงการตามปกติ ซึ่งจะระบุแนวโน้ม ขยายแง่มุมของปัญหา และผลักดันให้เกิดการปรับปรุง
เป้าหมายสูงสุดของโครงการอนุรักษ์การได้ยินคือการป้องกันไม่ให้ผู้คนเกิดการสูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุจากการทำงานภายใต้เสียงดังที่เป็นอันตราย เมื่อภารกิจทั้งหมดของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) เสร็จสมบูรณ์และมีการตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อบังคับทั้งหมดแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) โดยรวม โครงการนี้ป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากการสัมผัสเสียงดังได้จริงหรือไม่ มีช่องโหว่หรือไม่ สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร โปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) มีประสิทธิภาพและคุ้มกับต้นทุนหรือไม่
การวัดประสิทธิภาพของโครงการมีหลายวิธี วิธีหนึ่งคือการประเมินเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากโครงการ เช่นแนวโน้มตามช่วงเวลาของจำนวนเคสการสูญเสียการได้ยิน โดยสามารถติดตามตัววัดผลลัพธ์อื่นๆ เช่นการลดแหล่งกำเนิดเสียงดังหรือการสัมผัสเสียงดังสำเร็จ อีกแนวทางหนึ่งคือการพิจารณาต้นทุนในการจัดทำโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) โดยเปรียบเทียบกับต้นทุนในการปรับใช้การควบคุมเสียงดังเพื่อลดอันตรายจากเสียงดัง นอกจากนี้การตรวจสอบโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับและ/หรือเพื่อตรวจสอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติของบริษัท ซึ่งทำให้แน่ใจว่าสิ่งที่อยู่บนกระดาษสอดคล้องกับการปฏิบัติจริงยังนับว่าเป็นประโยชน์อีกด้วย มีการพัฒนารายการตรวจสอบโครงการอนุรักษ์การได้ยินล่าสุดขึ้นมาเพื่อประเมินประสิทธิภาพ (Neitzel et al, 2017).
ขอแนะนำให้ทำการประเมินประสิทธิภาพของโครงการเป็นประจำ บริษัทอาจเลือกที่จะตรวจสอบแง่มุมของ HCP ณ ช่วงเวลาต่างๆ เพื่อกระจายภาระงานออกไปตลอดปี หรือดำเนินการตรวจสอบในช่วงเวลาเดียวกันทุกปีหรือปีเว้นปี การประเมินโครงการสามารถดำเนินการโดยการใช้ทรัพยากรภายใน การทำสัญญาการบริการกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภายนอก หรือโดยใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน ท้ายที่สุดเมื่อระบุข้อค้นพบสำคัญแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรวมคำแนะนำไว้ในโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP)
คุณลักษณะของ HLPP ที่ประสบความสำเร็จคือมีทีม HLPP พร้อมบุคคลหนึ่งคนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำของโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) เครื่องมือเร่งด่วนที่จะช่วยระบุรายละเอียดของทีม คือการกรอกแบบฟอร์ม "ใครเป็นผู้รับผิดชอบ" การทำแบบฝึกหัดนี้อาจแสดงให้เห็นความซ้ำซ้อน ช่องโหว่ หรือความคลุมเครือว่าใครกำลังทำอะไร และให้คำแนะนำสำหรับขั้นตอนต่อไป หัวหน้าทีมอาจเรียกประชุมทีมเป็นประจำเพื่อกำหนดเป้าหมาย อภิปรายปัญหา และประเมินโครงการทั้งหมด การประเมินโครงการสามารถทำได้โดยทีมโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีคุณสามารถเลือกทำโครงการโดยผ่านหน่วยงานภายนอกที่ให้บริการทางด้านนี้
การประเมินโครงการมีหลายวิธี คุณสามารถใช้รายการตรวจสอบอย่างง่ายเพื่อพิจารณาว่านโยบายและขั้นตอนของบริษัทเป็นไปตามข้อบังคับหรือไม่ รายการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการประเมินโครงการสำหรับ OSHA สามารถดูได้โดยคลิกที่นี่.
อีกแนวทางหนึ่งคือการระบุตัววัดผลเฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของโครงการ หากทีมโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HLPP) ได้กำหนดเป้าหมายแล้ว สามารถใช้ตัววัดผลลัพธ์เพื่อติดตามความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายได้ ตัวอย่างของตัววัดผลลัพธ์ ได้แก่:
การประเมินโครงการอาจเป็นกระบวนการต่อเนื่องในแง่ของการทำให้แน่ใจว่าการดำเนินโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ตามที่วางแผนไว้และสอดคล้องกับข้อกำหนดที่ได้มีการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถกำหนดเวลาในการประเมินเพิ่มเติมเป็นระยะเพื่อเจาะลึกมากขึ้นในรายละเอียด โครงการบางอย่างจะดำเนินการตรวจสอบภายในประจำปี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการกำหนดเวลาไว้ก่อน
คำแนะนำในการปรับปรุงอาจเป็นเรื่องพื้นฐาน เช่น การระบุตำแหน่งของเครื่องจ่ายอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน หรือเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การจัดทำแผนเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินซ้ำ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยระดับการได้ยิน การเปลี่ยนแปลงโครงการอาจมีความซับซ้อน เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อปรับใช้โครงการควบคุมทางวิศวกรรมเพื่อลดการสัมผัสเสียงดังเกินกว่า 95 dBA ที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น
การดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยินที่มีประสิทธิภาพนั้นมีต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายตลอดจนเวลาและกำลังความสามารถ ดังนั้นการคำนวณต้นทุนแท้จริงในการดำเนินโครงการ รวมไปถึงการเปรียบเทียบกับต้นทุนในการลดเสียงดังที่เป็นอันตรายจึงเป็นประโยชน์ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของต้นทุนอาจแสดงให้เห็นว่ามีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมหรือไม่ หรือการเปลี่ยนแปลงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการได้หรือไม่ โดยมีเครื่องมือบางอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาผลประโยชน์จากต้นทุน ดังเช่นเครื่องมือที่กล่าวถึงในส่วนของ NIOSH นี้.
ข้อบังคับ OSHA 29 CFR 1910.95 กำหนดให้นายจ้างต้องปรับใช้ "โครงการอนุรักษ์การได้ยินที่มีประสิทธิภาพ" ในเอกสารขยายความ OSHA อธิบายว่าคำนี้หมายถึง "โครงการอนุรักษ์การได้ยินซึ่งป้องกันไม่ให้เสียงดังในสถานที่ทำงานะมีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินของพนักงาน" โดยคาดหมายให้นายจ้างดำเนินการประเมินว่า HCP มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไรก็ตามไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติมที่ระบุวิธีที่จะประเมินโครงการ
ในบางกรณี รายการตรวจสอบสำหรับการปฏิบัติตามข้อบังคับจะนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายและขั้นตอนของบริษัทที่มีอยู่ตรงตามข้อกำหนดที่บังคับควบคุมทั้งหมด ตามความหมายที่แท้จริงนั้น รายการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดจะแตกต่างจากการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม อย่างไรก็ตาม การบันทึกว่าโครงการอนุรักษ์การได้ยินเป็นไปตามข้อกำหนดถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี รายการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ สามารถหาได้ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงที่จัดทำโดย NIOSH นี้
การตรวจสอบโครงการอนุรักษ์การได้ยินมีรายละเอียดเชิงลึกมากกว่ารายการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์สมาชิกของฝ่ายบริหาร พนักงาน และผู้ปฏิบัติงาน บันทึกข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้โดยละเอียด และจะมีการดำเนินการ เพื่อระบุว่าการปฏิบัติในชีวิตประจำวันสอดคล้องกับนโยบายและขั้นตอนของบริษัทหรือไม่ การตรวจสอบโครงการแบบ "เจาะลึก" สามารถดำเนินการได้โดยทีมงานภายในหรืออาจทำสัญญากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากภายนอก
ตัววัดผลสามารถใช้เพื่อพิจารณาผลที่เกิดขึ้นของโครงการฟื้นฟู โดยมีตัวอย่างด้านล่าง เลือกอย่างน้อยหนึ่งรายการแล้วติดตามผลตามช่วงเวลาเพื่อระบุแนวโน้มและเป็นแนวทางในการตัดสินใจของโครงการ ตัววัดเหล่านี้อาจมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของฐานข้อมูลสมรรถภาพการได้ยินเพื่อติดตามการเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงการได้ยินหรือการสูญเสียการได้ยิน ตามหลักการแล้ว การเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินหรือ STS ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสเสียงดังควรจะเหมือนกันกับผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้สัมผัสเสียงดังในสถานประกอบการเดียวกัน การใช้วิธีนี้หมายความว่าต้องทำการทดสอบการได้ยินกับบุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียนใน HCP ซึ่งอาจไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ แทนที่จะทำเช่นนั้น NIOSH ได้แนะนำว่าอัตรา STS ที่ 3% หรือน้อยกว่านั้นเป็นเป้าหมายที่ดี
ในการคำนวณอุบัติการณ์ของ STS นั้น ให้นำจำนวนเคส STS หารด้วยจำนวนการทดสอบประจำปี แล้วคูณด้วย 100.
% STS = 100 x (# ของ STS/ # การทดสอบประจำปี)
ตัวอย่างเช่น บริษัทพบเคส STS 9 ราย จากการทดสอบการได้ยินประจำปี 200 ครั้ง %STS โดยรวมสำหรับกลุ่มที่สัมผัสเสียงดังคือ 100 x (9/200) หรือ 4.5% การติดตามตัวเลขนี้ตามช่วงเวลาสามารถช่วยระบุได้ว่าอัตรา STS เป็นที่ยอมรับและ/หรือคงที่
อีกแนวทางหนึ่งคือการวัดความแปรปรวนภายในฐานข้อมูลสมรรถภาพการได้ยินสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการทดสอบเป็นเวลาหลายปี รายงานทางเทคนิคของ ANSI ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนทางสถิติเพื่อระบุความผันผวนของข้อมูลสมรรถภาพการได้ยินซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพ ความแปรปรวนในระดับเกณฑ์ขั้นต่ำของสมรรถภาพการได้ยินที่สูงสำหรับประชากรอาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงการได้ยิน การทดสอบการได้ยินที่มีคุณภาพต่ำ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้สูญเสียความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล โดยสามารถหาซื้อรายงาน ANSI นี้เป็นเอกสารแบบแยกต่างหากได้ อย่างไรก็ตามจะมีสำเนาของรายงานอยู่ในคู่มือการอนุรักษ์การได้ยิน CAOHC ที่ภาคผนวก M: ANSI S12.13 TR-2002 (R2010) American National Standard Technical Report (รายงานทางเทคนิคมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา) Evaluating the Effectiveness of Hearing Conservation Programs through Audiometric Data Base Analysis (การประเมินประสิทธิภาพของโครงการอนุรักษ์การได้ยินผ่านการวิเคราะห์ฐานข้อมูลสมรรถภาพการได้ยิน) และสามารถหาซื้อได้ที่ www.caohc.org
ทั้งนี้ยังสามารถใช้ตัววัดอื่นๆ กับแง่มุมอื่นของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน เช่นการติดตามจำนวนคนในกลุ่มที่มีการสัมผัสที่เป็นอันตราย ความพยายามในการควบคุมเสียงดังที่ส่งผลให้การสัมผัสลดลง หรือในแง่ของการบรรลุเป้าหมายในการทดสอบความกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน.
นี่คือตัวอย่างบางส่วนในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา:
หมายเหตุสำคัญ: ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือในพื้นที่อื่นๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในพื้นที่เสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจที่เฉพาะเจาะจง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะแยกส่วน เนื่องจากเนื้อหามักประกอบไปด้วยข้อมูลเพิ่มเติมและ/หรือขยายความ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด