Noise Control

การควบคุมเสียงดัง

เมื่อมีเสียงที่เป็นอันตรายอยู่ในสถานที่ทำงาน ให้พิจารณาว่าจะสามารถนำการควบคุมเสียงดังไปใช้ลดการสัมผัสเสียงของพนักงานได้หรือไม่

สามารถควบคุมระดับเสียงดังได้หรือไม่?

  • 3M Hierarchy of Controls

    แนวคิดขององค์ประกอบตามลำดับชั้นของการควบคุมอันตรายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พูดง่าย ๆ ก็คือ การกำจัดหรือลดความรุนแรงของอันตรายจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คนหรือบังคับให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

    ตัวอย่าง เช่น นายจ้างสามารถใช้เครื่องมือที่เงียบมาใช้งาน โดยกำหนดเครื่องมือและกระบวนการทำงานที่มีเสียงดังน้อยลงในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถกำจัดเสียงดังลงได้ ยังมีแนวทางในการลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมหรือการใช้นโยบายด้านการบริหารจัดการ เพื่อจำกัดการสัมผัสกับเสียงดัง

    การควบคุมทางวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ กระบวนการ หรือสภาพแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อลดเสียงหรือส่งพลังงานเสียงไปยังพนักงานได้น้อยลง บ่อยครั้ง วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการระบุและดูแลควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงจากผลการสำรวจการควบคุมเสียงดัง

    มาตรการควบคุมการจัดการเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อลดการสัมผัสเสียงรบกวนโดยจำกัดเวลาที่พนักงานอยู่ในบริเวณที่มีเสียงรบกวนสูง นโยบายเหล่านี้มักจะมีความจำเป็นเมื่อไม่สามารถทำการควบคุมทางวิศวกรรมได้หรือมีค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป 

ประเด็นที่สำคัญ

  • การควบคุมเสียงดัง:

    • ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดอันตรายจากเสียงดัง
    • สามารถทำได้โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีการออกแบบกระบวนการด้วยการใช้การควบคุมทางวิศวกรรมหรือการใช้มาตรการควบคุมการจัดการ
    • อาจอนุญาตให้บริษัทลดจำนวนพนักงานในโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
    • การดูดซึม
    • A-weighting
    • Buy Quiet
    • การลดแรงกระแทก
    • การแยกตัว
    • การสำรวจเสียงรบกวน
    • การสะท้อน
    • ค่าเฉลี่ยการรับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน

ประโยชน์ของการควบคุมเสียงดัง

  • Benefits of Controlling Noise

    นายจ้างที่ควบคุมเสียงดังด้วยวิธีการต่าง ๆ อาจได้รับประโยชน์หลายประการ:

    1. ลดความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากการสัมผัสเสียงดัง (Noise-Induced Hearing Loss) และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องระหว่างพนักงาน
    2. การกำจัดหรือลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) เมื่อการสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงานลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ ที่ 85 เดซิเบลเอ อันเป็นผลมาจากความพยายามในการควบคุมเสียงดัง
    3. ลดการพึ่งพาอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (Hearing Protection Devices) ในภาพรวม
    4. ตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
    5. ช่วยปรับปรุงการสื่อสารแบบซึ่งหน้าและการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุเนื่องจากมีเสียงรบกวนการพูดน้อยกว่า
    6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของแต่ละประเทศเกี่ยวกับการสัมผัสเสียงดังในสถานที่ทำงานได้ง่ายขึ้น
    7. แสดงความมุ่งมั่นต่อพนักงานว่านายจ้างจริงจังกับการลดอันตรายจากเสียงดัง

การควบคุมเสียงดัง

แม้ว่าคุณอาจเลือกที่จะปรึกษาวิศวกรควบคุมเสียงดังเพื่อประเมินและวิธีการแก้ปัญหา การให้พนักงานที่ทำงานในบริเวณที่มีเสียงดังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ทำงานเพื่อหาวิธีลดเสียงดังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ปรึกษาสามารถนำความรู้ทางเทคนิคมากมายมาให้ แต่คนที่ใช้เวลาในแต่ละวันอยู่กับเสียงรบกวนนั้นจะสามารถให้วิธีแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและตรงไปตรงมาที่สุด เพราะเป็นผู้ที่รู้กระบวนการและอุปกรณ์เป็นอย่างดี

  • อาจดูเหมือนชัดเจน แต่กระบวนการควบคุมเสียงที่เป็นอันตรายในสถานที่ทำงานจะไม่สามารถเริ่มต้นได้จริงจนกว่าจะได้มีการประเมินอันตรายจากเสียงดังแลการวิเคราะห์ผลเสร็จสิ้นลง โดยการเฝ้าระวังเสียงดังในพื้นที่ต่าง ๆ ของสถานที่ทำงาน และทำการตรวจวัดเสียงในกระบวนการผลิต, งาน และเครื่องมือที่แตกต่างกัน ผู้จัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินจะรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อระบุกลุ่มพนักงานและพื้นที่ที่จำเป็นต้องควบคุมเสียงมากที่สุด และจัดลำดับความสำคัญว่าจะใช้จ่ายเงินในการควบคุมเสียงดังตรงที่ใดและอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงที่สุด จากนั้น จะสามารถทำการสำรวจการควบคุมเสียงดังโดยละเอียดมากขึ้นเพื่อระบุแหล่งกำเนิดของเสียงและเลือกวิธีการควบคุมเสียงที่เหมาะสมที่สุด

  • การทำให้อุปกรณ์และกระบวนการผลิตต่าง ๆ มีเสียงดังน้อยลงในระหว่างการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ จะให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกว่าการนำการควบคุมเสียงดังมาใช้ในภายหลัง Buy Quiet เป็นวิธีการป้องกันผ่านการออกแบบประเภทหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับการกำจัดหรือควบคุมอันตรายโดยระบุเครื่องจักรหรือเครื่องมือที่สร้างเสียงดังน้อยลง วิธีนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการออกแบบกระบวนการผลิตใหม่หรือเมื่อมีการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์เก่าหรือเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปจากเดิม

  • การจัดลำดับความสำคัญของโครงการควบคุมเสียงดังที่อาจเกิดขึ้น เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้บรรลุผลในการลดเสียงให้ได้มากที่สุด แม้ว่าการให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของเสียงดังที่สูงที่สุดในสถานที่ทำงานเป็นสิงที่สำคัญ แต่การลดความเสี่ยงการสัมผัสเสียงดังของพนักงานด้วยการควบคุมเสียงดังในบริเวณที่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีพนักงานจำนวนมากทำงานอยู่ ถือเป็นอย่างแรกที่ควรทำที่สุด วิธีการควบคุมเสียงดังบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง และเมื่อประสบความสำเร็จ อาจจะได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพนักงานและผู้บริหาร

  • บ่อยครั้งจำเป็นต้องใช้วิธีการหลายรูปแบบซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งการควบคุมทางวิศวกรรมและมาตรการควบคุมการจัดการ
     

    • การควบคุมทางวิศวกรรมอาจรวมถึงการปรับเปลี่ยนแหล่งกำเนิดเสียงดังตลอดจนทางผ่านของเสียง วิศวกรควบคุมเสียงสามารถช่วยประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมที่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบการควบคุมเสียงต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ปิดกั้น(isolators), อุปกรณ์ปิดคลุม(enclosures), อุปกรณ์ลดแรงกระแทก(dampers), อุปกรณ์ดูดซับ(absorbers) และฉากกั้น (barriers) ;
    • มาตรการควบคุมการจัดการอาจมีความซับซ้อนน้อยกว่า แต่ก็อาจก่อความวุ่นวายได้ หากเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงตารางการทำงานและขั้นตอนการทำงานมากเกินไป เป็นการยากที่จะจำกัดเวลาสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในบางพื้นที่หรือทำงานเฉพาะบางอย่าง แต่การบังคับใช้ข้อจำกัดดังกล่าวอาจทำให้โครงการอนุรักษ์การได้ยินมีความยุ่งยากมากขึ้น
  • นายจ้างต้องควบคุมเสียงเมื่อ "เป็นไปได้" ตามข้อกำหนดOSHA, และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ แต่มีการถกเถียงกันมากว่า คำว่า "เป็นไปได้" นั้นหมายถึงอะไร การแสดงให้เห็นว่าวิธีการแก้ปัญหาการควบคุมเสียงรบกวนโดยเฉพาะนั้นมีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคอาจค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่การจัดทำเอกสารศึกษาความเป็นไปได้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย

    คำถามบางข้อที่ต้องพิจารณา ได้แก่:
     

    • การลดลงของระดับเสียงด้วยการควบคุมเสียงดังได้อย่างมีนัยสำคัญเพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับต้นทุนของโครงการอนุรักษ์การได้ยินหรือไม่
    • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าใช้จ่ายระยะยาวในการบำรุงรักษาระบบการควบคุมเป็นอย่างไร
    • การควบคุมจะมีผลอย่างไรต่อกระบวนการต่าง ๆ ในสถานที่ทำงานและขั้นตอนการทำงาน จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพอย่างไร
  • ทำการวัดเสียงเมื่อมีดำเนินการควบคุมเสียงดัง และทำการวัดเสียงอีกเป็นระยะๆหลังจากนั้น เพื่อตรวจสอบและบันทึกผล จัดทำตารางเวลาในการตรวจสอบประสิทธิภาพของวัสดุและกลไกควบคุมเสียงเพราะวัสดุหรือกลไกอาจทรุดโทรมและเสื่อมสภาพได้เมื่อเวลาผ่านไป อันเนื่องมาจากการสึกหรอ เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานและการผลิต ให้ทวนสอบว่าเกิดผลอะไรขึ้นบ้างในแง่ของการควบคุมเสียงดังที่มีอยู่

ข้อบังคับ

  • Noise Control Requirements
    มีสิ่งที่จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง

    ในประเทศสหรัฐอเมริกา OSHA ได้กำหนดค่าขีดจำกัดของการรับสัมผัสที่ยอมรับได้ (Permissible Exposure limit) ที่ 90 เดซิเบลเอ นายจ้างจะต้องจำกัดการรับสัมผัสเสียงดังของพนักงานตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ไว้ที่ 90 เดซิเบลเอ หรือต่ำกว่า โดยใช้ "การควบคุมทางวิศวกรรมหรือมาตรฐานการควบคุมการจัดการที่เป็นไปได้" อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 1983 นโยบายการบังคับใช้ของ OSHA อนุญาตให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินแทนการใช้การควบคุมเสียงดังด้วยวิธีการอื่นๆ สำหรับการรับสัมผัสเสียงตลอดระยะเวลาการทำงานที่มีความดังต่ำกว่า 100 เดซิเบลเอ หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โปรดดูคู่มือปฏิบัติการภาคสนาม OSHA บทที่ 4 หน้า 27-28 (PDF, 2.60 MB).

    สำนักงานบริหารจัดการสุขภาพและความปลอดภัยเหมืองแร่ (Mine Safety & Health Administration) นั้นต่างไปจาก OSHA โดยกำหนดให้พนักงานในเหมืองนำการควบคุมเสียงดังที่เป็นไปได้ไปใช้ปฏิบัติโดยไม่ต้องคำนึงถึงการลดเสียงดังจากอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินส่วนบุคคล สิ่งนี้ส่งผลให้การควบคุมเสียงในเหมืองแร่มีความสำคัญมากขึ้นอย่างมากโดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม, โปรดไปที่ MSHA.

  • Noise Control Engineer
    การใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินในสถานที่ควบคุม

    หากการควบคุมเสียงไม่สามารถลดระดับเสียงลงถึงค่าขีดจำกัดการรับสัมผัส(PEL) ของ OSHA หรือต่ำกว่าได้ นายจ้างต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน (HPD) และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการใช้งานจริง อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินแทนการควบคุมเสียงดังด้วยวิธีการอื่นๆ OSHA กำหนดให้นายจ้างปรับค่าการลดเสียง (Noise Reduction Rating) ของ HPO เพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามข้อกำหนด *.

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดอ่าน Protect page or หรือไปที่ OSHA.

    * OSHA, NIOSH และ National Hearing Conservation Association (NHCA) ได้ให้การรับรองว่าการทดสอบการแนบกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียได้ยินเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด 3M แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ทำการทดสอบการแนบกระชับของอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียได้ยิน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้การลดเสียงที่พนักงานแต่ละคนได้รับ

Basics of Noise Control

พื้นฐานของการควบคุมเสียงดัง

 การจำกัดการรับสัมผัสเสียงรบกวนของพนักงานสามารถทำสำเร็จได้โดยใช้การควบคุมกับแหล่งกำเนิดเสียง, ทางผ่าเสียง หรือที่ตัวบุคคล

  • แหล่งกำเนิด
    แหล่งกำเนิดเสียง คือ วัตถุที่สั่นสะเทือน ซึ่งเป็นเครื่องจักรหรือเครื่องมือที่สร้างการสั่นสะเทือนในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งกระจายไปยังพื้นที่ทำงานในรูปแบบของเสียงรบกวน

    ทางผ่าน
    แน่นอนว่าเสียงเดินทางผ่านอากาศ แต่ยังผ่านวัสดุที่เป็นของแข็ง เช่น พื้น ผนัง และหน้าต่าง อีกด้วย

    ผู้รับ
    ในการได้ยินเสียงการสนทนา ผู้รับก็คือพนักงาน

  • ตัวอย่างของมาตรการควบคุมการจัดการเสียงรบกวน

    มาตรการควบคุมการจัดการเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อลดการสัมผัสเสียงรบกวนโดยจำกัดเวลาที่พนักงานอยู่ในบริเวณที่มีเสียงรบกวนสูง นโยบายเหล่านี้มักจะมีความจำเป็นเมื่อไม่สามารถทำการควบคุมทางวิศวกรรมได้หรือมีค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป

    ตัวอย่าง เช่น นายจ้างสามารถใช้เครื่องมือที่เงียบมาใช้งาน โดยกำหนดเครื่องมือและกระบวนการทำงานที่มีเสียงดังน้อยลงในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่สามารถกำจัดเสียงดังลงได้ ยังมีแนวทางในการลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมหรือการใช้นโยบายด้านการบริหารจัดการ เพื่อจำกัดการสัมผัสกับเสียงดัง

    แหล่งกำเนิด
     

    • ใช้อุปกรณ์และกระบวนการผลิตที่มีเสียงดังในเวลาที่มีพนักงานน้อยลง ตัวอย่าง เช่น ในเวลากลางคืน
    • ปิดแหล่งกำเนิดเสียงระหว่างงานแต่ละงานหรือในเวลาที่มีพนักงานอยู่

    ทางผ่าน
     

    • จำกัดการเข้าถึงพื้นที่ที่มีเสียงดัง

    ผู้รับ
     

    • หมุนเวียนพนักงานเข้าและออกจากเสียงรบกวนในระหว่างวัน
    • จำกัดเวลาสำหรับงานประเภทหรือการใช้เครื่องมือที่มีเสียงดัง
  • ตัวอย่างการควบคุมเสียงดังทางวิศวกรรม

    การควบคุมทางวิศวกรรมเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ กระบวนการ หรือสภาพแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อลดเสียงหรือส่งพลังงานเสียงไปยังพนักงานได้น้อยลง บ่อยครั้ง วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการระบุและดูแลควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงจากผลการสำรวจการควบคุมเสียงดัง

    แหล่งกำเนิด
     

    • บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์เป็นประจำ (เช่น การหล่อลื่นเกียร์ การเปลี่ยนปะเก็น ฯลฯ )
    • ลดการสั่นสะเทือนหากสามารถทำได้
    • ปรับกระบวนการหรือวิธีการผลิต เช่น การเปลี่ยนแปลง:
      • ความเร็ว
      • ความดัน
      • การควบคุมกลไก
      • ทิศทางการไหลของอากาศ

    ทางผ่าน
     

    • แยกแหล่งกำเนิดเสียงดังโดยใช้สปริงหรือแผ่นรองเพื่อป้องกันเสียงจากพื้นหรือผนัง
    • ปิดหุ้มแหล่งกำเนิดเสียง
    • วางฉากกั้นระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงและพนักงาน
    • แยกพนักงานจากแหล่งกำเนิดเสียงในห้องหรือบูธ
    • ติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงเพื่อลดการส่งผ่านหรือสะท้อนเสียงโดยตรง

    ผู้รับ
     

    • ใช้จอภาพวิดีโอหรือรีโมทคอนโทรลเพื่อให้พนักงานใช้งานอุปกรณ์ในบริเวณที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดเสียง
    • ฝึกอบรมพนักงานให้ใช้เครื่องมือหรือทำงานให้เสร็จด้วยวิธีที่จะสร้างเสียงดังให้น้อยลง
    • กำหนดให้พนักงานสวมอุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

ประเภทของการควบคุมทางวิศวกรรม

ภาพการควบคุมเสียงโดยใช้ตัวช่วยจาก Acoustics, Inc.

  • Sound Isolation
    การแยกตัว
    • ใช้ สปริง โฟมหรือวัสดุลดแรงกระแทกอื่น ๆ เพื่อลดการส่งเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงไปยังพื้น ผนัง หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
    • ตัวอย่าง เช่น สปริงที่ส่วนรองรับของมอเตอร์แบบยึดติดกับพื้นเพื่อลดพลังงานเสียงที่ส่งผ่านเข้าสู่พื้นและส่วนที่เหลือของอาคาร
  • Sound Damping
    การลดแรงกระแทก
    • วางวัสดุต่าง ๆ เช่น โฟม เรซิน หรือเทปบนวัตถุ หรือดัดแปลงเพื่อลดสั่นสะเทือนให้น้อยลง
    • ตัวอย่าง เช่น การเคลือบด้านนอกของถังโลหะด้วยเรซินเพื่อลดการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเมื่อชิ้นส่วนหล่นลงในถัง
  • Sound Reflection
    การสะท้อน
    • วางที่กั้นหรือฉากกั้นในเส้นทางเสียงเพื่อเบี่ยงเบนเสียงออกไปจากพนักงาน
    • ตัวอย่าง เช่น การวางกำแพงหรือสิ่งปิดกั้นรอบ ๆ คอมเพรสเซอร์เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานในบริเวณใกล้เคียงได้โดยไม่ต้องสัมผัสเสียงรบกวนโดยตรง
  • Sound Substitution
    การแทนที่
    • การแทนที่หรือดัดแปลงส่วนประกอบของระบบที่มีเสียงดังเพื่อลดเสียงรบกวนให้น้อยลง
    • ตัวอย่าง เช่น เปลี่ยนไปใช้หัวฉีดลมที่เสียงเบากว่าหรือแทนที่ล้อเหล็กบนรถเข็นด้วยล้อยางที่มีเสียงรบกวนต่ำ
  • Sound Modification
    การปรับเปลี่ยน
    • การเปลี่ยนกระบวนการเพื่อลดการเกิดเสียงดัง
    • ตัวอย่าง เช่น การลดระยะทางที่ชิ้นส่วนจะหล่นลงในถังเพื่อลดการสร้างเสียงรบกวนลง
  • Sound Absorption
    การดูดซึม
    • วางวัสดุดูดซับเสียงไว้ในบริเวณหนึ่งเพื่อลดการสะท้อนและการสะสมของเสียง
    • ตัวอย่าง เช่น กระเบื้องอะคูสติกวางบนพื้นผิวแข็งเพื่อลดเสียงสะท้อนในห้อง

เพิ่มเติมจากข้อมูลพื้นฐาน

ประโยชน์ในการควบคุมเสียงที่มีประสิทธิภาพ (ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น) อาจจะเพิ่มมากขึ้นได้โดยใช้นโยบาย Buy Quiet

  • Effective Noise Control

    ทำไมจึงต้องซื้อเครื่องมือที่เงียบ จาก NIOSH *อาจป้องกันการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากการสัมผัสเสียงดังได้โดยหากพนักงานสัมผัสเสียงที่ TWA ลดลงจนถึงระดับการสัมผัสเสียงที่แนะนำ (REL) ของ NIOSH ที่ 85 เดซิเบล หรือต่ำกว่า การซื้อเครื่องมือที่เงียบจะสามารถช่วยให้นายจ้างได้ระดับที่ต่ำกว่า REL ได้ การระบุเครื่องมือและกระบวนการที่มีเสียงดังน้อยลงในระหว่างขั้นตอนการออกแบบอาจช่วยให้นายจ้างหลีกเลี่ยงการควบคุมเสียงรบกวนที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ เมื่อมีการซื้อและภาระผูกพันในระยะยาว

    ประโยชน์ของ Buy Quiet
     

    • การลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน
    • การลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวในการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน, อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยินส่วนบุคคล และการชดเชย วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายเช่นนี้นำไปใช้ได้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หลากหลายประเภท
    • การช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตาม OSHA และข้อกำหนดด้านการควบคุมเสียงอื่น ๆ ได้
    • การลดผลกระทบของเสียงรบกวนที่มีต่อชุมชน

    * https://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/

    การประมาณค่าใช้จ่ายที่สามารถประหยัดได้
    เครื่องมือที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความคุ้มทุนของแนวทาง Buy Quiet มีอยู่โ ดยคลิกที่นี่.

    ตัวอย่างของกลยุทธ์การควบคุมที่ประสบความสำเร็จ
    โครงการ Safe-In-Sound Awards เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับนายจ้างและองค์กรต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการป้องกันการสูญเสียการได้ยินและประยุกต์ใช้แนวทางใหม่ ๆ ในการควบคุมการสัมผัสเสียงดังของพนักงาน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.safeinsound.us.


คุณได้พิจารณาแล้วหรือยัง

    • มี "การประกวดการควบคุมเสียง" โดยให้พนักงานซ่อมบำรุงมีส่วนร่วมในการคิดหาวิธีแก้ปัญหาเสียงดังที่พนักงานของคุณระบุหรือไม่
    • ควบคุมการรั่วไหลในระบบที่ใช้อากาศอัดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดการสัมผัสเสียงหรือไม่
    • โครงการอนุรักษ์การได้ยินของคุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ต่อปีต่อคน คุณสามารถประหยัดได้มากแค่ไหนจากการลดการสัมผัสเสียงดังให้มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้
    • จัดทำนโยบาย "buy quiet" เพื่อที่จะไม่มีการนำแหล่งกำเนิดเสียงดังเข้ามาในพื้นที่การผลิตของคุณหรือไม่
    • ตั้งเป้าหมายที่จะทำโครงการควบคุมเสียง หนึ่งหรือหลายโครงการต่อปีหรือไม่
    • ตรวจวัดเสียงหลังจากทำการควบคุมเสียงดัง เพื่อติดตามความสำเร็จของโครงการหรือไม่
    • สร้างแบบบันทึกการดำเนินการของโครงการควบคุมเสียงดังทั้งหมดหรือไม่
    • อัปเดตบันทึกการสัมผัสเสียงดังของพนักงาน เพื่อแสดงให้เห็นผลการดำเนินโครงการหรือไม่
    • จัดทำแผนงานเพื่อลดการรับสัมผัสเสียงดังเมื่อมีการทำงานในระยะเวลาที่มากขึ้น โดยจัดการกับสิ่งที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดก่อนหรือไม่

แหล่งข้อมูลเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมเสียงดัง

  • หมายเหตุ: ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจากข้อกำหนดของประเทศที่เลือกในปัจจุบัน ข้อกำหนดของประเทศหรือท้องถิ่นอื่น ๆ อาจแตกต่างกัน โปรดศึกษาคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งานและปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับในแต่ละประเทศเสมอ เว็บไซต์นี้แสดงภาพรวมของข้อมูลทั่วไปและไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การอ่านข้อมูลนี้ไม่ได้รับรองความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ข้อมูลนี้เป็นปัจจุบัน ณ วันที่เผยแพร่ และข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้แยกจากกันเนื่องจากเนื้อหามักจะมาพร้อมกับข้อมูลเพิ่มเติมและหรือคำชี้แจงเพิ่มเติม จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมด